เดินหน้าป้องกันเด็กหลุดออกนอกระบบ ศธ. สช. ผนึก กสศ. นำนวัตกรรมคัดกรองเด็กยากจนและด้อยโอกาส

ขยายการช่วยเหลือนักเรียนยากจน – พิการ – ด้อยโอกาสสังกัดเอกชนโรงเรียนประเภทสายสามัญทั่วประเทศ 3,900 แห่ง หวังเป็นฐานข้อมูลช่วยเหลือติดตามนักเรียนอย่างทันท่วงที รวมถึงพัฒนาครูและสถานศึกษา เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนเพิ่มสมรรถนะในศตวรรษที่ 21

เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 ที่กระทรวงศึกษาธิการ ดร.กนกวรรณ  วิลาวัลย์  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อสนับสนุนนวัตกรรมการคัดกรองความยากจน การวิจัยพัฒนาคุณภาพครู และสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) โดยความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ และกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)

ดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  กล่าวว่า  วันนี้ถือว่าเป็นนิมิตหมายดีที่ทำความร่วมมือกันระหว่าง ศธ.และ กสศ.ขับเคลื่อนระบบการศึกษาโดย 

  1. สนับสนุนนวัตกรรมการคัดกรองความยากจน การจัดสรรงบประมาณแบบมีเงื่อนไข เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และให้การช่วยเหลือนักเรียนยากจน 
  2. ส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาสำหรับนักเรียนยากจน นักเรียนพิการ และด้อยโอกาสให้ได้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นตามศักยภาพ 
  3. สนับสนุนให้เกิดความร่วมมืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับความช่วยเหลือ ส่งเสริมนักเรียนยากจน นักเรียนพิการและด้อยโอกาส เพื่อลดความเลื่อมล้ำ ในการศึกษาจนสำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานและพัฒนาคุณภาพของโรงเรียน และประสิทธิภาพครูของโรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ  

โรงเรียนเอกชนมักจะถูกมองว่าเด็กมักจะมีฐานะดีแต่ในข้อเท็จจริงโรงเรียนเอกชนยังมีเด็กที่ด้อยโอกาสและผู้พิการ และครั้งนี้ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีที่ได้ใช้แอปพลิเคชันของ กสศ. ที่มีมาตรฐาน และได้ใช้มาในทุกระบบของการศึกษา ครั้งนี้จำนวนอาจจะยังไม่ได้เข้าเป้ามากเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 แต่กระทรวงศึกษาธิการจะรับไปปรับปรุงเพื่อให้เข้าถึงสถานศึกษาจำนวนมากขึ้น โอกาสต่อไปก็คือ นักเรียน ครู และสถานการศึกษา จะได้รับความร่วมมือจาก กสศ.เพื่อพัฒนาระบบการศึกษา และลดความเหลื่อมล้ำตามนโยบายของรัฐบาล และกระทรวงศึกษาคือ พัฒนาระบบการศึกษาให้ครอบคลุมทุกด้าน โดยเฉพาะพื้นที่ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ และผู้ยากไร้

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าว

ดร.กนกวรรณกล่าวด้วยว่า ด้วยข้อจำกัดของสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ครูและนักเรียนในโรงเรียนเอกชน ต้องเรียนอย่างยากลำบาก ครูจึงต้องหาวิธีการให้นักเรียนได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ ในส่วนของการเรียนแบบ On-Site และ On-Hand ต้องทำด้วยความยากลำบาก เพราะต้องทำควบคู่กับการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 นอกจากนี้ยังหาช่องทางให้เด็กที่ด้อยโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมด้วย ซึ่งนับเป็นความเสียสละและความท้าทายของผู้บริหารและครูของโรงเรียนเอกชน จึงอยากขอบคุณจากใจ 

สำหรับผู้ปกครองบางรายมีจำนวนมากที่เกิดภาระจากการว่างงาน เป็นข้อจำกัดของสภาพครอบครัว ส่งผลไปยังบุตรและลูกหลานในปกครอง  วันนี้จึงเป็นวันสำคัญที่เราจะมาร่วมพัฒนาอนาคตที่สดใดของเด็กด้อยโอกาสให้มีความสุขมากขึ้น จึงอยากให้การทำข้อตกลงร่วมกันระหว่าง ศธ.และ กสศ. บรรลุวัตถุประสงค์

นพ.สุภกร บัวสาย รักษาการผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา  กล่าวว่า เด็กยากจนจำนวนมากมีชีวิตที่ยากลำบากจนทนไม่ไหว ต้องหลุดจากระบบการศึกษา  กสศ.ทำงานครอบคลุมทั่วประเทศ  และขยายสังกัดเพิ่มเติมขึ้นเรื่อยๆ     ปีที่ผ่านมา สามารถช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้มากกว่า 1.2 ล้านคน  ซึ่งเป็นกลุ่มที่เรากังวล แม้ยังไม่หลุดจากระบบการศึกษา แต่ถ้ามาโรงเรียน ท้องยังหิว  เดินทางด้วยความยากลำบาก หรือได้รับการเรียนการสอนไม่ตรงกับการใช้ประโยชน์ในชีวิต        กสศ.จึงจัดงบประมาณลักษณะเงินอุดหนุนเพื่อช่วยเหลือด้านอาหารเช้า การเดินทาง การจัดการเรียนการสอนเพิ่มเติม ให้ตรงกับประโยชน์ที่นักเรียนจะใช้ได้จริง         นพ.สุภกรกล่าวว่า การช่วยเหลือนักเรียนยากจนกลุ่มนี้ กสศ.เริ่มจากเด็กๆ ในสังกัด สพฐ. ซึ่งมีนักเรียนยากจนมากที่สุด และมีความพร้อมของข้อมูล  และได้ขยายไปสู่สังกัด อปท. ตชด.  ยังเหลือสังกัดที่ยังไม่ครอบคลุมอีก หนึ่งในนั้นคือสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน หรือ สช.   กสศ.จึงพยายามต่อสู้เรื่องงบประมาณมาอย่างน้อย 3 ปี  ในปีนี้มีโอกาสเริ่มต้นดำเนินการร่วมกับ สช. เป็นปีแรก
นพ.สุภกร บัวสาย รักษาการผู้จัดการ กสศ.

นพ.สุภกร บัวสาย รักษาการผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา  กล่าวว่า เด็กยากจนจำนวนมากมีชีวิตที่ยากลำบากจนทนไม่ไหว ต้องหลุดจากระบบการศึกษา  กสศ.ทำงานครอบคลุมทั่วประเทศ  และขยายสังกัดเพิ่มเติมขึ้นเรื่อยๆ   

ปีที่ผ่านมา สามารถช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้มากกว่า 1.2 ล้านคน  ซึ่งเป็นกลุ่มที่เรากังวล แม้ยังไม่หลุดจากระบบการศึกษา แต่ถ้ามาโรงเรียน ท้องยังหิว  เดินทางด้วยความยากลำบาก หรือได้รับการเรียนการสอนไม่ตรงกับการใช้ประโยชน์ในชีวิต        กสศ.จึงจัดงบประมาณลักษณะเงินอุดหนุนเพื่อช่วยเหลือด้านอาหารเช้า การเดินทาง การจัดการเรียนการสอนเพิ่มเติม ให้ตรงกับประโยชน์ที่นักเรียนจะใช้ได้จริง       

นพ.สุภกรกล่าวว่า การช่วยเหลือนักเรียนยากจนกลุ่มนี้ กสศ.เริ่มจากเด็กๆ ในสังกัด สพฐ. ซึ่งมีนักเรียนยากจนมากที่สุด และมีความพร้อมของข้อมูล  และได้ขยายไปสู่สังกัด อปท. ตชด.  ยังเหลือสังกัดที่ยังไม่ครอบคลุมอีก หนึ่งในนั้นคือสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน หรือ สช.   กสศ.จึงพยายามต่อสู้เรื่องงบประมาณมาอย่างน้อย 3 ปี  ในปีนี้มีโอกาสเริ่มต้นดำเนินการร่วมกับ สช. เป็นปีแรก     

การดำเนินงานจะมีเงื่อนไขคือ การใช้เครื่องมือการคัดกรองความยากจนด้วยวิธีวัดรายได้ทางอ้อม (Proxy Means Test : PMT) ของ กสศ. เพื่อให้รัฐบาล รัฐสภา สำนักงบประมาณ มั่นใจว่าสนับสนุนงบประมาณถูกคน ยากจนจริง  ทั้งนี้ความร่วมมือยังนำมาสู่การเชื่อมต่อระบบสารสนเทศและฐานข้อมูลรายบุคคลและรายสถานศึกษาระยะยาว ครอบคลุมเด็กเยาวชนที่มาจากครัวเรือนซึ่งมีรายได้น้อยที่สุดร้อยละ 20 ของประเทศ จำนวนมากกว่า 1 ล้านคน ในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ครอบคลุมสถานศึกษาสังกัด สช.กว่า 3,902 แห่ง 

นพ.สุภกร กล่าวว่า  ในปีแรก กสศ.จะเริ่มต้นทำงานกับโรงเรียนเอกชนประเภทการกุศล 566 แห่งจากการคัดกรอง สามารถช่วยเหลือนักเรียนทุนเสมอภาค สังกัด สช.ได้จำนวน 2,500 คน    ที่จะได้รับเงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไขคนละ 3,000 บาท/ปี เพื่อบรรเทาอุปสรรคการมาเรียน ค่าครองชีพ ค่าอาหารเช้า พร้อมทั้งมีระบบติดตามการมาเรียน ผลการเรียน และการเจริญเติบโตของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง  

อย่างไรก็ตามการสนับสนุนอาจยังไม่ครอบคลุมทั้งหมด เราเชื่อว่าอาจมีจำนวนนักเรียนที่ยากลำบากมากกว่านี้หลายเท่า   ซึ่งรัฐมนตรีได้ให้นโยบายว่าจะต้องมีการสำรวจคัดกรองเร็วขึ้น เพื่อสามารถจัดทำงบประมาณ ช่วยเหลือนักเรียนกว้างขวางขึ้นในปีถัดไป  ความร่วมมือครั้งนี้ กสศ.ยังสนับสนุนโรงเรียนสังกัด สช. เข้าร่วมโครงการพัฒนาตนเองรุ่นที่ 2 ประมาณ 27 แห่ง  ครอบคลุมนักเรียนที่จะได้รับประโยชน์และยกระดับคุณภาพการศึกษา จำนวน 10,000 คน  ในการหาวิธีการจัดการเรียนการสอน  สอดคล้องกับความจำเป็นในชีวิตของเด็ก และสอดคล้องกับหลักสูตรใหม่ ของ กระทรวงศึกษาธิการ 

ข้อจำกัดของการช่วยเหลือเป็นรายคน คือ ถ้างบประมาณหมด หรืองบประมาณน้อย จะเป็นปัญหาอุปสรรคมาก กสศ.จึงพยายามทำงานกับหน่วยงานเจ้าภาพหลัก  เน้นงานวิจัยพัฒนาระบบงานไปด้วย  เพื่อช่วยเหลือลดอุปสรรคเฉพาะหน้า และสนับสนุนงานวิชาการ เพื่อสนับสนุนการปฏิรูปการศึกษาในประเด็นที่รัฐบาลเห็นว่าต้องมีการแก้ไข   โดยเฉพาะการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนพื้นที่ห่างไกล ที่นักเรียนส่วนใหญ่ยากจน

นพ.สุภกรกล่าว
ดร.สุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ดร.สุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

ดร.สุภัทร จำปาทอง  ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ  กล่าวว่า ตลอดสามปี ที่ กสศ.กำเนิดขึ้นมา เป็นการเติมเต็มช่องว่างในสังคมไทย  เปลี่ยนชีวิตเด็กให้เป็นบุคคลสำคัญ ขับเคลื่อนประเทศในอนาคต   อย่างไรก็ตามนักเรียนที่อยู่ในสถานศึกษามีความด้อยโอกาสที่แตกต่างกันส่วนหนึ่งจากสภาวะทางเศรษฐกิจ  โดยเฉพาะในวิกฤตโควิด-19  ทำให้มีการย้ายถิ่นฐาน  ผู้ปกครองว่างงาน  ส่งผลกระทบต่อการศึกษาของเด็กไทย   ทำให้มีเด็กจำนวนมากที่ยังไม่พบว่าศึกษาต่อในระบบ  เป็นเด็กตกหล่นประมาณ 43,000 คน    โดยขณะนี้เหลืออีกราว 20,000 กว่าคน ที่กระทรวงศึกษากำลังเร่งรัด ติดตาม ซึ่งเรามีชื่อเด็กทุกคน เพื่อให้เข้าสู่การศึกษาในระบบ หรือการศึกษานอกระบบหรือเรียนอาชีวะ 

ดร.พีรศักดิ์ รัตนะ เลขาธิการคณะกรรมการ ส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.)
ดร.พีรศักดิ์ รัตนะ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.)

ดร.พีรศักดิ์ รัตนะ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.)  กล่าวว่า การสนับสนุนนวัตกรรมดังกล่าวจะช่วยให้ สช.มีฐานข้อมูลความยากจนของนักเรียนที่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อให้ สช.นำข้อมูลไปใช้ในการขอรับงบประมาณประจำปี สำหรับช่วยเหลือนักเรียนที่มีความเสี่ยงหลุดออกจากระบบการศึกษา เนื่องจากปัญหาความยากจน ด้อยโอกาสได้ดีขึ้น 

นอกจากนี้ สช.และ กสศ.ยังมุ่งพัฒนาคุณภาพโรงเรียนทั้งระบบ ผ่านโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง หรือ Teacher and School Quality Program: TSQP ที่เน้นการพัฒนาคุณภาพของระบบบริหารจัดการโรงเรียน และการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพสูงในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะในศตวรรษที่ 21